วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2550

การประชุมเครือข่ายผู้ปกครอง ระดับชั้น ม.6/2

การประชุมเครือข่ายผู้ปกครอง ระดับชั้น ม.6/2
เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2550
อ.อดุลย์ คงเพชรศักดิ์ แจ้งดำหนดการประชุมเครือข่าย และแจ้งผลการเรียนให้ผู้ปกครองทราบ
อ. เชวง และ อ.อรบุษป์ เตรียมรับเงินบริจาค และ เงินทรัพยากร
Posted by Picasa

เดินทางไปส่งนักเรียนอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์

เดินทางไปส่งนักเรียนอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์ ไปเข้าค่าย ทำโครงงานวิทยาศาสตร์ เตรียมไปแสดงที่ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ช่วงเดือน ตุลาคม 2550
ถ่ายภาพ หน้า คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
Posted by Picasa

ศึกษาดูงาน จาก ศูนย์วิทยาศาสตร์ เขต 2 จังหวัด สุโขทัย

ถ่ายกับหัวหน้ากลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ โรงเรียน สวรรค์อนันต์
ถ่ายกับหัวหน้ากลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ โรงเรียน สวรรค์อนันต์
ถ่ายกับศึกษานิ้ทศเขต สอง จังหวัดสุโขทัย
ผู้อำนวยการโรงเรียนกล่าวต้อนรับและการสรุปการศึกษาดูงาน
Posted by Picasa

วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ความสำคัญของวันวิทยาศาสตร์

18 สิงหาคม พ.ศ. 2411
วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ในวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2411 ถือเป็นวันสำคัญยิ่งในวงการศึกษา วงการดาราศาสตร์ และวงการวิทยาศาสตร์ของไทย เพราะเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค และสถลมารค เพื่อทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงที่ ต.หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
อันเป็นปรากฏการณ์ที่พระองค์ ทรงคำนวณทำนายไว้ก่อนล่วงหน้าถึง 2 ปี คือทรงคำนวณไว้ตั้งแต่ปีพ.ศ.2409 ครั้นถึงวันที่ 18 สิงหาคม ปีพ.ศ.2411 สุริยุปราคาเต็มดวง ก็ปรากฏการณ์อุบัติขึ้นจริงตามวันเวลาและสถานที่ทุกประการ เพื่อให้เกิดการตื่นตัวทางวิทยาศาสตร์ในสังคมปัจจุบันก่อให้เกิดแรงผลักดันในทางบวกอย่างกว้างขวางขึ้น ซึ่งเชื่อแน่ได้ว่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาประเทศได้อย่างแน่นอน
คณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคม ของทุกปีเป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ นับตั้งแต่ปีพ.ศ.2525 เป็นต้นมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงประกอบพระราชกรณียกิจ อันเป็นคุณประโยชน์ต่อประเทศชาตินานัปการ ทั้งในด้านการทหาร การปรับปรุงประเทศ และผลงานทางด้านวิทยาศาสตร์ จึงถือว่าพระองค์เปรียบเสมือนเป็น พระบิดาวิทยาศาสตร์ไทย
วัตถุประสงค์ของการจัดงานวันสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ
1. เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติและพระปรีชาสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อันเป็น"พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย"
2. เพื่อเป็นการส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานการค้นคว้าวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ
3. เพื่อสนับสนุนให้กำลังใจและโอกาสแก่นักวิจัย นักประดิษฐ์ ได้แสดงผลงานต่อสาธารณชน
4. เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่าภาครัฐและเอกชนในการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้ในการพัฒนาประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
5. เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศทางวิทยาศาสตร์ อันเป็นวิถีทางหนึ่งของการแก้ปัญหาการขาดแคลนกำลังคนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ได้มีการจัดกิจกรรมทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากมาย เช่น นิทรรศการ ผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การอภิปรายทางวิชาการ การตอบปัญหาทางวิทยาศาสตร์ การประกวดการแข่งขันต่าง ๆ เช่น โครงการทางวิทยาศาสตร์และสื่อการสอนวิทยาศาสตร์ เป็นต้น
ในการจัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ได้มีการมอบรางวัลให้แก่ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นในสาขาวิชาต่าง ๆ โดยจะทำพิธีมอบรางวัลเชิดชูเกียรติในวันที่ 18 สิงหาคม ของทุกปี
การจัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ นับได้ว่ามีส่วนที่จะช่วยกระตุ้นให้ประชาชนคนไทย ได้ตระหนักถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น
ขอบคุณที่มา :
หนังสือวันสำคัญของไทย โดย : ธนากิต หน้า 216 และ หนังสือวันสำคัญของไทย โดย : สุภักดิ์ อนุกูล หน้า 122

วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

สำรวจระบบนิเวศ




ประชุมเตรียมการสอวน. ครั้งที่ 1/2550

การเช้าร่วมประชุมเตรียมการสอวน. ครั้งที่ 1/2550
ห้องสัมนา Sc1-419 อาคารบริหารคณะวิทยาศาสตร์

Posted by Picasa

วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

บรรยากาศ กีฬ่าสีโรงเรียน นครสวรรค์ 2550




Posted by Picasa

โลกร้อนแก้ไขได้ ด้วย 10 วิธีทำให้โลกเย็น



โลกร้อนแก้ไขได้ ด้วย 10 วิธีทำให้โลกเย็น
1.ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้า หลังเลิกใช้
เหตุผล: ช่วยประหยัดไฟ และทำให้เราไม่ต้องสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่มมากขึ้น เพราะปัจจุบัน ถ่านหินคือตัวการสำคัญที่ทำให้โลกร้อนมากเป็นอันดับ 1
ผลที่ได้รับ: ลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ได้หลายร้อยกิโลกรัมต่อปี และที่สำคัญคือ ต้องถอดปลั๊กไฟออกด้วยทุกครั้ง จะทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้ถึง 4,000 บาทต่อปี

2.เปลี่ยน หลอดไส้ เป็นหลอดตะเกียบ
เหตุผล: จะทำให้เราไม่ต้องสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเพิ่มมากขึ้น เพราะปัจจุบัน ถ่านหิน คือตัวการสำคัญ ที่ ทำให้โลกร้อนมากเป็นอันดับหนึ่ง
ผลที่ได้รับ: การเปลี่ยนเป็นหลอดประหยัดไฟ จะช่วยประหยัดไฟได้ 3-5 เท่า และยังมีอายุการใช้งานยาวนานกว่าหลอดธรรมดาถึง 10 เท่า เท่ากับลดการใช้พลังงานได้ถึงร้อยละ 80 และประหยัดเงินได้ 738 บาทต่อปี ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ได้ถึง 295 กิโลกรัมต่อปี

3.ตั้ง อุณหภูมิแอร์ ที่ 25 ‘c

เหตุผล: เพื่อไม่ให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนัก ซึ่งจะทำให้สูญเสียพลังงานโดยเปล่าประโยชน์
ผลที่ได้รับ:ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ได้ถึง 900 กิโลกรัมต่อปี และยังประหยัดพลังงานได้ 2.4 หน่วย

4.ลด ใช้เครื่องทำน้ำร้อน
เหตุผล: เครื่องทำน้ำร้อนเป็นอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานมาก
ผลที่ได้รับ: ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ได้ถึง 300 กิโลกรัมต่อปี

5.ติด ฉนวนกันความร้อนในบ้าน
เหตุผล: เพราะการติดตั้งฉนวนกันความร้อน จะทำให้เครื่องปรับอากาศไม่ทำงานหนัก และช่วยประหยัดพลังงาน
ผลที่ได้รับ: จะช่วยประหยัดพลังงานในบ้านได้ถึง 40 เปอร์เซ็นต์

6.ปลูกต้นไม้ยืนต้น
เหตุผล: ต้นไม้ 1 ต้น ช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ ได้ 1 ตัน ตลอดอายุของต้นไม้

7.เพิ่ม การใช้ผลิตภัณฑ์รีไซเคิล
เหตุผล: เพราะในการผลิตกระดาษหรือพลาสติกแบบรีไซเคิล ใช้พลังงานในการผลิตเพียง 50 เปอร์เซ็นต์
ผลที่ได้รับ: การใช้ผลิตภัณฑ์รีไซเคิล จะช่วยลดปริมาณขยะได้ถึงปีละ 1,450 ตัน ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ได้ 1 ตันต่อปี

8.เลี่ยงการใช้รถยนต์ส่วนตัวคนเดียว
เหตุผล: เพราะน้ำมัน คือแหล่งปล่อยคาร์บอนไดออกไซค์ที่สำคัญ โดยมีสัดส่วนมากถึงร้อยละ 40
ทางแก้ไข: ควรจัดระบบ car pool รวมทั้งหันมาใช้จักรยาน รถขนส่งมวลชน หรือเดินให้มากขึ้น เพราะจะช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ได้ถึง 1,000 ตันต่อวัน (ต่อปริมาณรถในกทม. 5.5 ล้านคัน) นอกจากนี้รถขนส่งมวลชนยังมีประสิทธิภาพทางพลังงานมากกว่ารถยนต์ส่วนตัวถึง 3 เท่า และยังช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ได้ถึง 8 เท่าอีกด้วย

9.เลือกซื้อของที่ผลิตในประเทศ
เหตุผล: เพราะการซื้อสินค้าต่างประเทศต้องสิ้นเปลืองพลังงานในการขนส่ง บรรจุภัณฑ์ และจัดจำหน่าย
ผลที่ได้รับ: การใช้ของที่ผลิตในประเทศจะช่วยลดค่าหีบห่อและค่าขนส่ง ทำให้สามารถลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ที่จะเกิดขึ้น และเงินตราไม่รั่วไหลอีกด้วย

10.กินผักแทนเนื้อสัตว์ให้มากขึ้น
เหตุผล: การทำปศุสัตว์ คือแหล่งที่ทำให้เกิดก๊าซมีเทน ไม่ว่าจะเป็นการแผ้วทางพื้นที่ป่าเพื่อทำฟาร์มปศุสัตว์ หรือ การขับถ่ายของเสียจากสัตว์ ล้วนทำให้เกิดการแพร่กระจายของก๊าซเรือนกระจก ในชั้นบรรยากาศ ถึง 18 เปอร์เซ็นต์
ผลที่ได้รับ: ถ้าเราลดการผลิตเนื้อสัตว์ทุก ๆ 1 กิโลกรัม จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่ากับคาร์บอนไดออกไซค์ ได้ 3-4 กิโลกรัม

นำมาจากเว็บไซต์ http://www.gmmcoolearth.com/
Posted by Picasa

วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2550

อบรมห้องเรียนสีเขียว

วันนี้ได้ททดลองเขียน blog เพื่อทดลองใช้งาน ดู
เลยเอาภาพ รับเกียรติบัตร มาให้ชมกัน
Posted by Picasa
อบรมห้องเรียนสีเขียว ที่ตาก


Posted by Picasa

ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล๊อก ของ อาจารย์ เชวง สิทธิวะ

ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล๊อก ของ อาจารย์ เชวง สิทธิวะ